top of page
รูปภาพนักเขียนDOGBY-DOO!

ทำงานประจำ แต่อยากหัดเย็บผ้า Podomoro คือตัวช่วยให้เวลาทำงาน กับเวลาฝึกเย็บผ้าสมดุลย์

อัปเดตเมื่อ 8 พ.ย. 2563

นี่คือวิธีที่ลองทำแล้ว และได้ผลจริงๆ กับการฝึกเย็บผ้า หรือแม้แต่งานอื่นๆ ก็สามารถปรับเอาวิธีของ Podomoro ไปใช้ได้


Podomoro คืออะไร และเหมาะกับใคร?

หากคุณรู้สึกว่าตัวเองช่างไม่มีเวลาเอาซะเลย ชีวิตยุ่ง มีงานเยอะเเยะไปหมด แต่จำนวนชิ้นงานที่เสร็จมีน้อยมากๆ บางที Podomoro คือสิ่งที่อาจจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องนี้ให้คุณได้


'มะเขือเทศ' นี่คือคำแปลแบบตรงตัวของคำว่า Podomoro ซึ่งเป็นภาษาอิตาลี ซึ่งมะเขือเทศมันดันมีรูปร่างคล้ายกับนาฬิกาจับเวลาของคนคิดค้นเทคนิคนี้ขึ้นมา (ตั้งชื่อกันง่ายดีจัง) Francesco Cirillo เจ้าของเทคนิคนี้จึงตั้งชื่อวิธีการจัดการเวลานี้ว่า Podomoro


ใช่เเล้วค่ะ Podomoro คือเทคนิคการจัดการและบริหารงานกับเวลารูปแบบหนึ่ง

ซึ่งอยากจะเอามาแนะนำให้ทุกคนได้รู้จัก สาเหตุที่แนะนำเพราะว่าเราเองเป็นคนงานยุ่งมาก ไม่ว่างตลอดเวลา แต่ชิ้นงานที่เสร็จนั้นมีน้อยมาก เรียกได้ว่าสวนทางกันสุดๆ เลย งานเยอะ งานยุ่งแทนที่จะได้ชิ้นงานเยอะ กลับไม่มีเลยซะอย่างนั้น


ดังนั้นจึงขอสรุปง่ายๆ ว่าใครบ้างที่เหมาะกับการบริหารเวลาแบบ Podomoro

  • เป็นคนอยากทำหลายๆ อย่าง ฝันเยอะ นั่นก็อยากทำ นี่ก็อยากทำ

  • ด้วยความที่อยากทำหลายอย่าง ทำทุกอย่าง งานจึงยุ่งมาก

  • งานยุ่งมาก แต่ไม่มีงานที่เสร็จเป็นชิ้นเป้นอันสักอย่าง หรืองานเสร็จแต่ไม่ Success

  • ชีวิตไม่มีเวลาว่าง เพราะงานทุกอย่างอีรุงตุงนังไปหมด


วิธีฝึกเย็บผ้าแบบ Podomoro

ที่เหมาะกับคนใช้เวลาฝึกหลังเลิกงาน


คอร์สออนไลน์ (ฟรี) ฝึกใช้จักรไฟฟ้าขึ้นพื้นฐาน

เมื่อเข้าใจรูปแบบของ Podomoro แล้ว เรามีคอร์สออนไลน์มาฝากกันค่ะ สามารถเอารูปแบบของ Podomoro ไปฝึกกับคอร์สนี้ได้เลย เข้าเรียนกันได้ที่นี่ค่ะ >> Click


สิ่งสำคัญที่ต้องเตรียมก่อนทำ Podomoro เย็บผ้าในแต่ละวัน

  • จัดเตรียมข้าวของบนโต๊ะเย็บผ้าให้พร้อมเสมอ ชนิดที่ว่า เราเดินไปนั่งและเริ่มทำได้เลย

  • ทำความสะอาดบริเวณโต๊ะเย็บผ้าหลังใช้งานเสร็จทุกครั้ง อย่าเอาของไปวางรก สร้างบรรยากาศให้รู้สึกอยากเดินเข้าไปเย็บผ้าตลอดเวลา ไม่ใช่เห็นโต๊ะรกแล้วเบื่อ ไม่อยากฝึก

  • วางเป้าหมายของการฝึก ว่าจะฝึกด้วยระยะเวลาเท่าไร เน้นเรื่องอะไร วัดผลด้วยอะไร เช่น วันนี้จะฝึกเย็บเส้นตรงให้เป๊ะ และการวัดผลคือการตรวจเช็คเส้นเย็บที่ออกมา (อย่าฝึกแบบเลื่อนลอย ไม่มีเป้าหมายในการฝึก)

  • ควรกำหนดระยะเวลาที่จะฝึกสำเร็จเช่น ฉันอยากเย็บเส้นตรง เส้นโค้งให้เป๊ะ ในระยะเวลา 7 วัน ทำ Podomoro วันละ 1 Set เป็นต้น


แนวทางการปรับใช้ Podomoro กับงานอื่นๆ นอกจากเย็บผ้า

ด้วยความที่ตัวเราเองเป็นคนเจ้าโปรเจคต์ และเลือกที่จะทำทุกอย่าง อย่างเช่น งานสอนตัดเสื้อผ้าสุนัข ก็ไม่ใช่ว่าจะรอสอนตอนมีคนมาเรียนอย่างเดียวจึงจะได้ทำงาน แต่เรายังจะต้องเขียนบทความลงเว็บ (ดังเช่น Blog นี้) ต้องวางแผนการถ่ายวิดีโอ ถ่ายวิดีโอ บันทึก ตัดต่อ ฯลฯ ซึ่งตัวงานมันมีหลาย Process มากๆ ไหนจะต้องมาวางแผนเรื่องการอัพคลิป การโพสต์ Facebook งานเบื้องหลังจะเยอะมากค่ะ


ไหนจะต้องฝึกซ้อมปั่นจักรยาน (งานอดิเรกอีกอย่างของเราเอง) ยังไม่รวมงานที่ปรึกษาเรื่องการวางแผนการตลาดออนไลน์กับลูกค้าอีก ซึ่งเป็นงานหลักอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งสรุปง่ายๆ ว่าเป็นคนทำมากกว่า 1 อาชีพ งานจึงเยอะมาก ดังนั้นการฝึกจัดการบริหารเวลาจึงสำคัญ

การปรับใช้ Podomoro ของเราจึงเริ่มจาก

  • กำหนด Project งานใหญ่ๆ มาก่อน ว่าเราอยากทำอะไรบ้าง เรียงลำดับการทำก่อนหลัง

  • เขียน Topic หลักที่จะทำ ตามด้วย Process ย่อยๆ ออกมาเป็น To do list

  • ค่อยๆ ทำตามทีละ To do List ซึ่งยังไม่เร่งมันด้วยการกำหนดเวลาว่าแต่ละ List ต้องใช้เวลาเท่าไร แต่ว่าจะค่อยๆ ทำแต่ละ List เป็นรอบๆ ตามเซ็ทของ Podomoro


เราค้นพบว่าการอัดทำงานมากๆ นั้น มีแต่จะยิ่งทำให้รู้สึกแย่ กังวล และงานก็ไม่ได้ออกมาดี เป็นการเสียพลังงานและเวลาไปโดยใช่เหตุ แต่ Podomoro ช่วยให้เราได้พักมากขึ้น ผ่อนคลายขึ้น แต่ว่าจำนวนชิ้นงานกลับเป็นไปตามที่วางแผนไว้ดีมากๆ


อย่างไรก็ตาม วิธีของ Podomoro ก็มีข้อเสียอย่างที่ได้บอกไว้ในคลิป ดังนั้นทุกๆ วิธีการ Management ที่มีอยู่หลากหลาย เราจึงควรทดลองและเลือกใช้ให้เหมาะกับ Liftstyle ของตัวเองจะดีที่สุดค่ะ

ดู 989 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Kommentare


  • Facebook
  • Instagram
  • YouTube
  • Pinterest
bottom of page