ชุดนี้เป็นชุดสำหรับสมาชิกรายเดือน ที่ทางเราอยากให้บรรดาแม่ๆ ได้ตัดชุดเชิ้ตเดรสเอาไว้ใส่คู่กับลูกๆ เป็นชุดคู่ ประกาศให้โลกรู้เป็นแม่ลูกกันเนอะ ชุดนี้เรามีแพทเทิร์นให้ดาวน์โหลดอีกตามเคยนะคะ และสำหรับใครที่สนใจอยากจะตัดบ้าง สามารถสมัครเรียน (subscription) เพื่อเรียนรายเดือนกับเราเข้ามาได้เลยค่ะ
Size Chart : https://www.dogby-doo.com/women-size-chart
Pattern Download For Memberships
👗 สำหรับสมาชิกรายปี >> Click ดาวน์โหลดที่นี่
เรียนเสื้อเชิ้ตน้องหมาได้ที่ไหน ?
เสื้อเชิ้ตน้องหมา (Lifetime class เรียนได้ตลอดชีพ) สมัครได้ที่นี่ Click
ส่วนเสื้อเชิ้ตเดรสของแม่นั้น เป็นแบบ Subscription ค่ะ (รายเดือน) เพราะเราอยากให้แม่ๆ ได้ตัดใส่คู่กับชุดแบบอื่นในคอร์สรายเดือนได้ด้วย แค่ลองเปลี่ยนผ้าให้แมชกัน จะตัดใส่คู่กับชุดไหนของเด็กๆ ก็ได้
วิธีการตัดเย็บเชิ้ตเดรส (Shirt Dress)
1. Seam Structure ของชุด
2. เรียงลำดับการตัดเย็บ เชิ้ตเดรส ต้องเย็บอะไรก่อนหลัง
3. มาลงมือเย็บชุด Shirt Dress กันเถอะ
ขั้นตอนการตัดเย็บ เรียงตามลำดับ (สามารถคลิกที่หัวข้อได้เลยค่ะ)
Step 1 : เย็บปิดเกล็ดอก หรือจุด Dart
Step 2 : สาบเสื้อทั้ง 2 ฝั่ง และเจาะรังดุม
Step 3 : สาบหลัง (York) และการประกอบไหล่
Step 4 : แขนเสื้อ และการประกอบ
Step 5 : การเข้าหัวเเขน และรอบวงของแขนเสื้อ
Step 6 : การเย็บประกอบข้างลำตัว
Step 7 : เย็บเก็บชายเสื้อ
Step 8 : วิธีทำปกเสื้อ และวิธีการเข้าปก
1. Seam Structure ของชุด
อาจจะไม่คุ้นหูกันนัก ว่า Seam Structure คืออะไร
แต่ถ้าจะให้แปลกันตรงตัวเลย ก็คือ 'โครงสร้างของเสื้อผ้าชุดนั้น' ซึ่งโดยปกติแล้ว เราจะฝึกตัดเย็บเสื้อผ้าตามคลิปสอนเย็บเป็นชุดๆ ไป ซึ่งนั่นมีข้อดีคือ ทำให้เราสามารถทำตามได้เลย
แต่วันนี้เราขอพาทุกคนมา เรียนรู้วิธีการตัดเย็บเสื้อผ้า ในอีกรูปแบบ ที่ไม่ใช่การทำตามคลิปเพียงอย่างเดียวค่ะ
ข้อดีของการเข้าใจเรื่อง Seam Structure
ทำให้ตัวเราเอง เข้าใจโครงสร้างของการประกอบเสื้อผ้า ในเชิง 3 มิติมากขึ้น
เมื่อเข้าใจในมุมมอง 3 มิติมากขึ้น จะสามารถเรียงลำดับขั้นตอนการเย็บ ได้จากความเข้าใจ ไม่ใช่การท่องจำลำดับขั้นตอนวิธีเย็บเพียงอย่างเดียว
จะสามารถมองเห็นเสื้อผ้าทั่วๆ ไป และเข้าใจกระบวนการตัดเย็บได้ด้วยตัวเองแทบจะในทันที ว่าต้องเย็บอะไรก่อนหลัง
พอฝึกเรื่องการทำความเข้าใจ Sewing Structure บ่อยๆ จะสามารถพลิกแพลงเทคนิคการเย็บที่หลากหลายได้ด้วยตัวเอง
ด้วยเหตุนี้ เราจึงเลือก Shirt Dress มาเป็นชุดแรก ที่ให้ทุกๆ คนได้ฝึกการตัดเย็บแบบทำความเข้าใจ Sewing Structure แม้ช่วงแรกๆ อาจจะยังไม่ชินบ้าง แต่ฝึกบ่อยๆ ก็จะเข้าใจเรื่องการอ่าน Seam และองค์ประกอบต่างๆ บนชุดได้อย่างแน่นอนค่ะ
shirt Dress ประกอบด้วย Seam Structure อะไรบ้าง
2. เรียงลำดับการตัดเย็บ เชิ้ตเดรส ต้องเย็บอะไรก่อนหลัง
ลำดับของการเย็บชุด Shirt Dress นี้ ได้แก่
เย็บปิดเกล็ดอก หรือจุด Dart : ใช้ Basic Seam
สาบเสื้อทั้ง 2 ฝั่ง และเจาะรังดุม : ใช้การพับริมด้วย Fold Hem
สาบหลัง (เย็บประกอบชิ้นหลังก่อน) จากนั้นจึงค่อยนำมาเย็บต่อไหล่เสื้อกับชิ้นหน้า : ใช้ Basic Seam ซึ่งในกรณีนี้ สามารถเรียกว่าเป็น Sandwish Seam ได้เช่นกัน เพราะมีผ้า 3 ชั้น
เย็บชายแขนเสื้อ : ใช้การพับริมด้วย Fold Hem
เข้าหัวแขน และรอบวงของแขนเสื้อ : ใช้ตะเข็บล้ม หรือ Welt Seam
เย็บประกอบข้างลำตัว : ใช้ Welt Seam
เย็บเก็บชายเสื้อ : ใช้การพับริมด้วย Fold Hem
ทำปกเสื้อ และเข้าปก : ใช้ Basic Seam
สำหรับชุดนี้จะมีทั้งหมด 8 ขั้นตอนค่ะ Shirt Dress ยังจัดอยู่ในระดับการเย็บแบบง่าย และในการเย็บแต่ละขั้นตอนนั้น เมื่อเราทราบแล้วว่าตะเข็บของแต่ละขั้นตอน เป็นตะเข็บอะไร ก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับแต่ละ Step ได้เลย
ทั้งนี้ ผู้เขียนยังคงมีวิดีโอการเย็บแต่ละตะเข็บให้ดูนะคะ ซึ่งเราสามารถมาดูว่าเราเย็บอยู่ในขั้นตอนที่เท่าไร และขั้นตอนนั้นๆ ใช้ตะเข็บอะไร ในการดูประกอบการเย็บได้ค่ะ
3. มาลงมือเย็บชุด Shirt Dress กันเถอะ
Step 1 : เย็บปิดเกล็ดอก หรือจุด Dart
หมายเหตุ** การเย็บเกล็ดอก หรือจุด Dart ส่วนใหญ่จะใช้วิธีการเดียวกัน คือกลัดบริเวณเกล็ดอก แล้วเย็บตรง Basic Seam ดังนั้นจึงสามารถดูวิธีการจากชุด Heartly Jump Shirt ได้
Step 2 : สาบเสื้อทั้ง 2 ฝั่ง และเจาะรังดุม : ใช้การพับริมด้วย Fold Hem
เสื้อชิ้นหน้าจะมีด้วยกันทั้งหมด 2 ชิ้น หลังจากที่ทำการเย็บสาบเสื้อเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็สามารถเจาะรังดุม รอเอาไว้ได้เลยค่ะ ส่วนกระดุมนั้น ค่อยเย็บตอนประกอบชุดเสร็จทั้งหมดแล้วก็ได้
วิธีการเจาะรังดุม
Step 3 : สาบหลัง (York) และการประกอบไหล่
การพับจีบเสื้อชิ้นหลัง
วิธีประกอบเสื้อชิ้นหลัง และสาบหลัง
วิธีการประกอบไหล่ เสื้อชิ้นหน้าและหลัง
วิธีเย็บตะเข็บล้ม Click
Step 4 : แขนเสื้อ และการประกอบ
การเย็บ Fold Hem : เทคนิคในการเก็บชายเสื้อผ้า
Fold Hem จะเป็นที่นิยมในในการเก็บชายเสื้อผ้า ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ได้ทั้ง
สาบเสื้อ
ชายแขนเสื้อ
ชายกระโปรง, กางเกง
ฯลฯ
รูดย่นหัวเเขน
แขนเสื้อของชุดนี้ จะเป็นแบบ Fit In ซึ่งจะต้องเย็บรูดที่หัวแขน โดยใช้เส้นตรง เย็บมาตามแนว Curve ของวงแขน โดยวิธีการเย็บรูดย่นนั้น สามารถดูได้จากคลิกสอนรูดย่นนี้ค่ะ ใช้วิธีเดียวกับชุด Hello Little Brown
Focus ของการเย็บรูดหัวเเขน
หลังจากดูคลิป จุดที่อยากให้ Focus สำหรับชุดนี้คือ
ไม่ต้องกุ๊น Curve หรือวงโค้งแขนเสื้อแบบในคลิป
เดินเส้นเย็บสำหรับรูดหัวแขนเป็น 1 แถว ไม่ต้องทำ 2 แถวคู่กัน เราจะทำ 2 แถวเป็นการเดินเส้นคู่ ในกรณีผ้าหนา
การรูดระบาย หรือรูดย่น หัวใจหลักคือ เดินเส้นเย็บ แล้วมาดึงรูดด้วยด้ายบนค่ะ
Step 5 การเข้าหัวเเขน และรอบวงของแขนเสื้อ
Step 6 : การเย็บประกอบข้างลำตัว
สำหรับชุดนี้ ตะเข็บที่เราโชว์ให้ดูนั้น เราจะใช้ตะเข็บล้ม หรือว่า Welt Seam ในการประกอบข้างลำตัว ซึ่งเป็นตะเข็บแบบเดียว กับที่เราประยุกต์ใช้ ในการประกอบเสื้อเชิ้ตสัตว์เลี้ยง ดังนั้น ในการทำ Welt Seam เพราะมันคือเดียวกัน วิธีเย็บเหมือนกันเป๊ะ ต่างกันแค่ขนาด ดังนั้นเราจึงขอแนบคลิปวิธีการทำตะเข็บล้มนี้ ในชุดเสื้อเชิ้ตสัตว์เลี้ยงให้ชม เพื่อความชัดเจนของวิธีทำตะเข็บ
Step 7 : เย็บเก็บชายเสื้อ
Step 8 : วิธีทำปกเสื้อ และวิธีการเข้าปก
วิธีการเข้าปกเสื้อของ Shirt Dress นั้น จะเหมือนกับชุด Heartly Jump Shirt ทุกประการเลยค่ะ ต่างกันเล็กน้อยคือจุดนี้ไม่มีสัญลักษณ์สามเหลี่ยมกึ่งกลาง แต่เราสามารถใช้ดินสอเขียนผ้าพับครึ่ง และขีดตำแหน่งปกตรงกลางไว้ได้นะคะ
การเตรียมปก
ในการเตรียมปก เชิ้ตเดรสตัวนี้จะมีเพียงแค่ปก (ไม่มีฐานปก) แต่มีการรีดผ้ากาว ซึ่งขั้นตอนการเตรียมปกก่อนเย็บเข้าปก จะมีดังนี้
4. รีดผ้ากาว
เราจะเน้นวางเตารีดลงบนผ้าทีละจุด โดยแต่ละจุด จะวางทาบไว้ประมาณ 3-7 วินาที เพื่อให้ความร้อนจากเตารีด ทำให้กาวละลายติดลงบนผ้า จากนั้นจึงค่อยขยับเตารีด วางนาบบนผ้าทีละจุดๆ จนผ้ากาวติดแน่นทั่วผืน
5. วิธีเย็บปกเสื้อ
หลังจากรีดผ้ากาวเสร็จแล้ว (รีดผ้ากาวแค่ชิ้นเดียว) จากนั้นให้เย็บปกตามคลิปของชุด Heartly Jump Shirt ได้เลยค่ะ เพราะวิธีทำปกนั้นเหมือนกัน ต่างแค่มีผ้ากาว กับไม่มีผ้ากาว
6. วิธีการเย็บเข้าปกด้วย Bound Seam
หลักๆ แล้ว Shirt Dress ไม่ได้ใช้เทคนิคการเย็บที่ซับซ้อนเลย ออกจะใช้ตะเข็บเดิมๆ ที่เราเคยใช้กันบ่อยๆ ด้วยซ้ำค่ะ การเริ่มต้นฝึกตัดเย็บเสื้อผ้าด้วยการอ่าน Seam Structure มองแว่บแรกอาจจะดูเป็นเรื่องที่ไม่คุ้นเคยอยู่สักหน่อยนะคะ แต่ถ้าหากได้ทดลองเย็บทีละขั้นๆ เราจะก็จะค่อยๆ เข้าใจเรื่องของ Seam ขึ้นทีละนิดๆ
ใครที่ยังไม่ชินกับการอ่าน Seam Structure แบบนี้ ไม่ต้องกังวลนะคะ แต่เราอยากให้ลองจริงๆ ค่ะ เพราะนี่จะเป็นอีกก้าวที่ช่วยให้คนรักการตัดเย็บ ได้พัฒนาทักษะในการเย็บผ้าได้มากจริงๆ ค่ะ
และพบกับ #แบบชุดประจำสัปดาห์ ชุดใหม่ ในวันศุกร์หน้านะคะ
Comments