top of page
รูปภาพนักเขียนDOGBY-DOO!

Color & Mood ออกแบบเสื้อผ้าสัตว์เลี้ยงสวยขึ้นได้ แค่เข้าใจการใช้ 'สี'

วันนี้เราจะมารู้จักกับการ 'ออกแบบเสื้อผ้าสัตว์เลี้ยง' ที่เจาะไปในเรื่องของ 'สี' กันค่ะ

หลายๆ คนพอนึกถึงการออกแบบชุด มักจะไปโฟกัสที่การ Creative รูปทรงเสื้อผ้า ดีไซน์ใหม่ๆ จนบางครั้ง หากไม่มีพื้นฐานมาก่อนก็จะรู้สึกว่ายาก และอาจจะพาลท้อได้


แต่รู้หรือไม่คะว่าเราสามารถใช้ 'สี' เป็นหลักในการออกแบบ ถึงแม้ว่ารูปทรง Shape ของเสื้อผ้าจะธรรมดาๆ แต่ 'สี' จะทำให้เสื้อผ้าสัตว์เลี้ยงที่เราออกแบบ มีความน่าสนใจขึ้นมากได้เหมือนกันนะ


🐶🐱 ถ้ารู้ 4 เรื่องนี้ ก็เริ่มใช้สีออกแบบเสื้อผ้าได้สวยขึ้น



1. สี สำคัญอย่างไร กับการออกแบบเสื้อผ้าสัตว์เลี้ยง


ในเชิง Personal นั้น 'สี' ช่วยในเรื่องของกายภาพเป็นอย่างมาก เพราะ

ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้าสัตว์เลี้ยง หรือเสื้อผ้าของเจ้าของ 'สี' จะช่วยสะท้อนบุคลิกและอารมณ์ของผู้สวมใส่ รวมไปถึงกระตุ้นและเชื่อมโยงกับความทรงจำอีกด้วย

ตัวอย่างเช่นในภาพประกอบ เสื้อผ้านั้นมีรูปทรงธรรมดาๆ มาก แต่ด้วยการใช้สีม่วงพาสเทล ทำให้เรารู้สึกหวาน มีความละมุนละไม อ่อนโยน น่าทะนุถนอม (เดี๋ยวเอาไว้พูดถึงเรื่อง Texture ของผ้ากันต่อทีหลังนะคะ)


ออกแบบเสื้อผ้าสัตว์เลี้ยง ด้วยเทคนิคการใช้สี
สีพาสเทล ทำให้เสื้อผ้าดูหวานละมุน และผู้สวมในก็ดูน่าทะนุถนอมมากๆ ด้วย

และในแง่ของการออกแบบ 'สี' มีความสำคัญหลายอย่าง ต่อหลายๆ วงการออกแบบ ตัวอย่างง่ายๆ เช่น

  • สีแดง เหลือง เขียว ถูกนำมาใช้ออกแบบไฟจราจร เพื่อให้ผู้ใช้ท้องถนนรู้ว่าเราควรปฏิบัติตัวอย่างไร

  • สีสันต่างๆ ที่เปลี่ยนไปของผักหรือผลไม้ตั้งแต่ดิบ จนกระทั่งสุกงอมหรือเน่าเสีย ทำให้เรารู้ว่าจะต้องทำเช่นไรกับอาหาร

จะเห็นได้ว่า 'สี' นั้นเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของเราด้วย

ที่สำคัญ 'สี' มีความเชื่อมโยงกันกับความรู้สึก อารมณ์ และความทรงจำของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี เช่น

เมื่อเราอ่านหนังสือ การไฮไลท์ด้วยสีทำให้จำเนื้อหาได้แม่นขึ้น เพราะ 'สี' ช่วยกระตุ้นสมองให้ตื่นตัว โลกนี้จึงได้มีการผลิตปากกาไฮไลท์ออกมายังไงล่ะคะ


นี่แหละค่ะ ตัวอย่างการใช้สีที่เชื่อมโยงมายังพฤติกรรมและการใช้งานของมนุษย์ที่เด่นชัดอย่างหนึ่งเลย


ออกแบบเสื้อผ้าสัตว์เลี้ยง_ตัวอย่างการใช้สีกับพฤติกรรมมนุษย์
การไฮไลท์ข้อความบนหนังสือ ช่วยกระตุ้นความทรงจำได้ดีขึ้น

เห็นมั๊ยเอ่ยว่าสีนั้น มีความสำคัญกับคนเรามากขนาดไหน

ในแง่ของการขาย เราสามารถใช้เสื้อผ้าแบบสีเดียวล้วน (Solid) เพื่อให้ลูกค้าจดจำได้ง่าย อีกทั้งยังเพลย์เซฟ กับคนที่ยังไม่เก่งเรื่องการจับคู่สีอีกด้วยค่ะ

ออกแบบเสื้อผ้าสัตว์เลี้ยง_เทคนิคการใช้สี
การออกแบบเสื้อผ้า ด้วยการใช้สีเดียวล้วนๆ ทำให้ลูกค้าจดจำได้ง่าย

 

2. Color & Mood คืออะไร


แปลตรงตัวก็คือ สีและอารมณ์


อย่างที่เราทราบกันแล้วว่าสีนั้นสะท้อนไปถึงอารมณ์ มันเป็นเรื่องที่เชื่อมโยงกันและไม่สามารถตัดขาดจากกันได้ ดังนั้นเมื่อเรานำเรื่องนี้มาใช้ในการออกแบบเสื้อผ้าสัตว์เลี้ยง เราจึงควรต้องคำนึงเสมอว่า เสื้อผ้าของเรานั้น เมื่อทำออกมาแล้ว อยากให้น้องหมาสวมใส่แล้วดูเป็นอย่างไร เช่น


สีน้ำตาลในชุดนี้ สะท้อนความรู้สึกคลาสสิค เป็นมิตร เรียบหรู

สีดำ-ทอง ให้ความรู้สึก หรูหรา คลาสสิคแบบเหนือกาลเวลา

สีเขียวมะนาว สื่อถึงความกระปรี้กระเปร่า แอคทีฟ และสดใส

จากตัวอย่างทั้ง 3 รูป จะเห็นได้ว่าสีแต่ละสี สามารถสื่อสารถึงอารมณ์ของเสื้อผ้า สะท้อนไปยังผู้พบเห็นได้เป็นอย่างดี


นี่แหละค่ะ Color มันเชื่อมโยงอยู่กับ Mood ตลอดเวลา ตัดกันไ่ม่ขาดจริงๆ

 

3. รู้จักกับชื่อเรียก การแบ่งกลุ่มต่างๆ ของ Color & Mood ที่น่าสนใจ


ถ้าแบบที่คุ้นเคยกันที่สุด เราก็จะคุ้นกับโทนสีพาสเทล ที่ใส่กับอะไรก็จะดูซอฟต์ขึ้นมาทันที

แต่รู้ไหมคะว่า ยังมีกลุ่มสีอื่นๆ อีกจำนวนมาก ที่เราสามารถเรียนรู้ และนำมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบเสื้อผ้าสัตว์เลี้ยงได้



กลุ่มสี Earthy - สีธรรมชาติ หรือที่เราคุ้นเคยกันว่าเอิร์ธโทน

กลุ่มสีหลักๆ จะเป็นสีน้ำตาล เขียวใบไม้ ที่ให้ความรู้สึกธรรมาชาติ ผ่อนคลาย มีความ Country และนึกถึงความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติและการผลัดเปลี่ยนฤดูกาล


 



กลุ่มสี Naturla - สีธรรมชาติ แต่ Mood จะเบากว่า Earthy

กลุ่มสีนี้ยังอยู่ในหมวดของธรรมชาติค่ะ แต่ความ Earty นั้นจะขรึมกว่า ดูหนักแน่น แต่ถ้าเราต้องการความเบาสบาย เห็นแล้วรู้สึกสบายอกสบายใจ เบาๆ ชิลๆ จะเป็นสีกลุ่ม Natural นี้ค่ะ ไปทางธรรมาชติเหมือนกัน แต่ความบาง ความเข้มของสีนั้น จะไม่หนักเท่า Earthy


 


กลุ่มสี Playful - สนุกสนาน ขี้เล่น ร่าเริงสดใส

เป็นโทนสีที่แนะนำมากๆ สำหรับการนำมาออกแบบเสื้อผ้าสัตว์เลี้ยง เพราะสะท้อนถึงลักษณะนิสัยของเด็กๆ สี่ขาได้แบบเด่นชัดที่สุดเลย สีกลุ่มนี้จะค่อนข้างมีความ Lively มากกว่ากลุ่ม Pastel ค่ะ หากใครอยากแม่นเรื่องสีนี่ยิ่งต้องระวังเลยค่ะ เพราะว่าน้ำหนักและความเข้มของสีนั้น มีผลให้ Color & Mood สามารถเปลี่ยนกลุ่มไปได้ง่ายๆ เลย


 


กลุ่มสี Pastel - ละมุน อ่อนหวาน อ่อนโยน ดีต่อใจ

เป็นสีที่สะท้อนถึงลักษณะความอ่อนโยนของสัตว์เลี้ยงได้เป็นอย่างดี จุดสังเกตที่ชัดที่สุดระหว่าง Pastel กับ Playful คือ ค่าความเข้ม ความทึบของสี เพราะ Pastel นั้นจะเบากว่า และสีค่อนไปทางสว่างกว่ามากๆ ซึ่งหากย่อยลงไปอีก สามารถแบ่งได้เป็นกลุ่มของสีที่มีความ


  • Delicate : สีเบาบาง ซอฟต์ เห็นแล้วรู้สึกโปร่ง เบาตา

  • Romantic : หวานละมุน รู้สึกได้ถึงความรัก (แต่เป็นรักแบบน่ารักๆ มุ้งมิ้ง ไม่ร้อนแรง)

  • Nostalgic : สื่อไปในเชิงความคิดถึง ความทรงจำ มีกลิ่นอายของความซีเปีย ดูเก่าๆ เล็กน้อย

  • Shooting : ให้ความรู้สึกสงบ ผ่อนคลาย เบาสบาย ไม่อึดอัด


เอาไว้ถ้าใครสนใจอยากให้ลงดีเทลกลุ่มสี Pastel เพ่ิม สามารถคอมเมนท์บอกได้เลยนะคะ เพราะมันน่าสนใจมากๆ ในแง่ของการนำมาใช้แยกรายละเอียดของเสื้อผ้าในแต่ละ Mood


 


กลุ่มสี Timeless - คลาสสิค หรูหรา เหนือกาลเวลา สุขุม ลึกลับ

ใครอยากทำเสื้อผ้าแล้วดูแพง มีความเป็นผู้ใหญ่ ชุดไม่ต้องตามแฟชั่นมากนัก แนะนำโทนนี้ค่ะ เป็นโทนที่เล่นง่าย โทนนี้จะค่อนไปทางสีขาว เทา ดำ น้ำตาลเข้ม น้ำเงินกรมท่าแบบเข้มๆ เลย


ซึ่งหากอยากจะเบรกให้ดูเบา ดูไม่หนักจนเกินไป ให้เบรกด้วยสีขาว เทาอ่อน หรือครีมอ่อนๆ

และโทนนี้ยังเข้ากับสีเงิน สีทองเฉดต่างๆ ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย


 


กลุ่มสี Active - กระฉับกระเฉง ฉับไว คล่องตัว

ชุด Sport ชุดสีสะท้อนแสงต่างๆ ปลอกคอ สายจูง เราจะเห็นได้ว่านิยมใช้กลุ่มสี Active กันเยอะมาก สีกลุ่มนี้ให้ความร้อนแรงแบบสนุกสนาน รู้สึกว่า Ennergy เยอะ ต้องการการเคลื่อนที่ การขยับ วิ่ง กระโดด การเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อปลดปล่อยพลังงานอันล้นเหลือ


 

4. อารม์ของสี อารมณ์ของแบรนด์


เราได้เห็นตัวอย่างของ Color & Mood กันไปบ้างแล้ว ซึ่งจุดที่ชัดเจนคือ

สีเกี่ยวข้องกับอารมณ์เสมอ และอารมณ์เกี่ยวข้องกับบุคลิกภาพ

เราสามารถนำประโยชน์ของ Color & Mood มาใช้ โดยเลือกให้เหมาะสมกับบุคลิกภาพของแบรนด์เสื้อผ้าสัตว์เลี้ยงได้ เช่น


ถ้าเราอยากให้แบรนด์มีบุคลิก

  • น่ารัก สนุกสนาน สดใส = ใช้กลุ่มสี Playful

  • รักธรรมชาติ สุขุม มีความสงบนิ่ง เป็นผู้ใหญ่ = ใช้กลุ่มสี Earthy

  • อ่อนหวาน อ่อนโยน เรียบร้อย = ใช้กลุ่มสี Pastel

  • เท่ แข็งแรง มั่นคง ดูแพง = ใช้กลุ่มสี Timeless

  • ฯลฯ

และคำถามคือ

เรารู้หรือยังว่าแบรนด์เสื้อผ้าสัตว์เลี้ยงของเรานั้น มีบุคลิกแบบไหน ?

เรื่องของบุคลิก คาแร็คเตอร์ในแบรนด์เป็นเรื่องที่ต้องชัดเจนค่ะ เพราะจะเกี่ยวของการเรื่องการสื่อสารแบรนด์ (Brand Communication) มากๆ เพราะถ้าหากเราไม่รู้จะทำให้ลูกค้าเกิดความสับสนและจำไม่ได้ เช่น เดือนนี้ทำเสื้อผ้าสายหวาน สีพาสเทลละมุนฟรุ้งฟริ้งมาก แต่เดือนหน้าเปลี่ยนเป็นแนวธรรมาชาติ ดูรักษ์โลกษ์ ฯลฯ


การเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาจะทำให้ลูกค้าสับสน และจดจำแบรนด์ของเราไม่ได้

สุดท้ายแล้วเราจะกลายเป็นแบรนด์ที่หาเอกลักษณ์ หาตัวตนของตัวเองไม่เจอ สร้างฐานลูกค้าประจำได้ยาก (เพราะเปลี่ยนจนลูกค้างงไปหมด)


บุคลิกแบรนด์เป็นแบบไหน ให้ใช้สีที่สะท้อนอารมณ์นั้นออกมา



ขอยกตัวอย่างเรื่อง Personality ที่เด่นชัด ของเจ้าของน้องหมามาเพื่อให้เห็นภาพกันชัดๆ นะคะ ไล่จากซ้ายไปขวา

  1. บุคลิกเท่ ทะมัดทะแมง ดูแข็งแรง ในกลุ่มสี Timeless จาก IG : oneyidressedthepug

  2. บุคลิกเรียบง่าย แต่หรูหรา ในกลุ่มสี Nutural จาก IG : allaboutlloyd_ (แต่ถ้าเข้าไปดูภาพรวมใน IG จะเห็นได้ว่าส่วนใหญ่คุมโทนด้วยกลุ่ม Timeless ท่ามกลางความ Minimal ได้อย่างลงตัว)

  3. บุคลิกอ่อนหวาน น่าทะนุถนอม ในกลุ่มสี Pastel (Romantic) จาก FB : คุณชายสี่พามิ๊เที่ยว


 

จริงๆ แล้วยังมีกลุ่มสีอีกหลายกลุ่มที่ยงไม่ได้พูดถึง เอาไว้มีโอกาสจะทยอยมาเล่าเจาะทีละกลุ่มสีกันอีกทีนะคะ

หวังว่าบทความนี้จะทำให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่อง Mood & Color และนำไปใช้ในการออกแบบเสื้อผ้าและบุคลิกของแบรนด์ได้เป็นอย่างดีค่ะ



Comments


  • Facebook
  • Instagram
  • YouTube
  • Pinterest
bottom of page