top of page
รูปภาพนักเขียนDOGBY-DOO!

'คำนวนงบลงทุนจักร' สำหรับคนที่ตัดเย็บเสื้อผ้าขายด้วยตนเอง

เรามาว่าด้วยเรื่อง #SeamStructure กันค่ะ เป็นเรื่องพื้นฐานที่มีผลกับการเย็บชุดน้องหมาแมวสูงมาก เพราะจะต้องใช้ไปตลอด รวมถึงมีผลกับการลงทุนซื้อจักรเย็บด้วยนะ ถ้ารู้จักและวางแผนดีๆ เกี่ยวกับตะเข็บ เราก็จะประหยัดเงิน และประหยัดเวลาในการทำเสื้อผ้าสัตว์เลี้ยงได้เยอะเลย


บอกเลยว่าแค่เรื่องของตะเข็บเนี่ย ก็มีเรื่องเงินๆ ทองๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยแล้ว

และวันนี้เราขอมาแบบเบสิคๆ ก่อนค่ะ คือตะเข็บสามัญประจำเสื้อผ้า ที่ไม่ว่าชุดคน หรือชุดหมาแมวต่างก็ต้องใช้ด้วยกันทั้งนั้น


😀 รู้จักตะเข็บพื้นฐาน ที่สัมพันธ์กับงบในการซื้อจักร

 

1. ตะเข็บ (Seam) คืออะไร สำคัญอย่างไรในการทำเสื้อผ้า


แปลกันตรงตัว ตะเข็บ (Seam) แปลว่า รอยต่อ

ในเรื่องเสื้อผ้า มันก็คือการสร้างรอยต่อ ด้วยการนำผ้า 2 ชิ้นมาทำให้ติดกัน จึงเกิดเป็น 'รอยต่อ' ขึ้นมาบนผ้าชิ้นนั้นๆ


สอนเย็บผ้า 1
Seam จะปรากฏเป็นรอยเชื่อมต่อระหว่างผ้า 2 ชิ้น

ในเสื้อผ้า 1 ตัว มีตะเข็บกี่แบบ

เยอะมากกกกกกกกก.....

แม้ว่าการตอบแบบนี้ออกจะดูกำปั้นทุบดินไปสักหน่อย แต่มันเยอะจริงๆ ค่ะ ซึ่งจำนวนไม่ใช่ปัญหา เพราะเราจะนำพา Seam ต่างๆ มาให้รู้จักกันทีละนิดๆ ในเว็บไซต์ของเรา ซึ่งติดตามกันได้ใน #SeamStructure นะคะ


สำหรับ EP.1 นี้ เราจะพามาสำรวจเสื้อผ้ากันก่อน เพื่อดูว่าในชุด 1 ชุด มักมี Seam อะไรบ้าง


สอนเย็บผ้า 2
ตัวอย่าง : ในเสื้อผ้า 1 ตัว จะประกอบด้วยหลายๆ Seam
ความสำคัญของตะเข็บ (Seam) คือ สิ่งที่ช่วยประกอบเสื้อผ้าขึ้นมาเป็นชุด เรียกได้ว่าเป็นโครงสร้างหลักอย่างหนึ่งของเสื้อผ้าเลยทีเดียว

 

2. ตะเข็บเย็บตรง และจักรเย็บผ้าไฟฟ้า


ตะเข็บแรก ที่เราทุกคนควรจะต้องรู้จักคือ ตะเข็บเย็บตรง เพราะนี่คือพื้นฐานที่สุดของที่สุดในการทำเสื้อผ้า

ตะเข็บเย็บตรงนี้ มักเป็นในส่วนของโครงสร้างหลัก ที่ประกอบชิ้นต่างๆ ของเสื้อผ้าเข้าด้วยกัน รวมทั้งนิยมใช้ในการเย็บเก็บชายเสื้อผ้า เช่น ชายเเขนเสื้อ ชายเสื้อ ชายกางเกง ชายกระโปรง ฯลฯ


ตะเข็บเย็บตรงต้องใช้จักรไฟฟ้าในการเย็บเป็นหลัก โดยที่จักรที่คุณภาพดี ควรค่าแก่การลงทุน ผู้เขียนขอแนะนำงบเริ่มต้นเฉลี่ยที่ราคาช่วงนี้ ซึ่งหากใครยังไมมีจักรเย็บ กำลังหาข้อมูลในการซื้อ ผู้เขียนขอแนะนำบทความ คำแนะนำ มือใหม่อยากซื้อจักรเย็บผ้า นอกจากเรื่องราคา ต้องรู้อะไรอีกบ้าง


รีวิว จักรเย็บผ้าไฟฟ้า
จักรเย็บผ้าไฟฟ้า ช่วงราคาต่างๆ ซึ่งมีตะเข็บหลักที่เราต้องใช้ คือ ตะเย็บเย็บตรง

เห็นไหมคะ ว่านี่เพิ่งแค่ตะเข็บพื้นฐานตะเข็บเดียวเอง แต่ก็เกี่ยวข้องกับงบประมาณของเราได้ตั้งขนาดนี้ ใครสะดวกที่จะสร้างตะเข็บเย็บตรง ด้วยงบลงทุนของจักรตัวไหนตั้งแต่พันต้นๆ จนเกือบแตะหลักหมื่น หรือจะทะลุไปหลักหมื่นอันนี้ตามแต่งบในกระเป๋าของเราเลยค่ะ


 

3. ตะเข็บโพ้ง และจักรโพ้งแต่ละราคา


เรากลับมาที่ภาพนี้กันอีกครั้งหนึ่ง จะเห็นได้ว่า ในเสื้อผ้าโดยทั่วไป มักจะมีตะเข็บโพ้ง หรือการเย็บโพ้งริมอยู่ในเสื้อผ้าด้วยเสมอ


ตะเข็บโพ้ง
ลักษณะของตะเข็บโพ้ง
สอนเย็บผ้า 3
ในเสื้อผ้า 1 ตัว จะประกอบด้วยหลายๆ Seam

จากภาพ จะเห็นว่าการโพ้งริม มักนิยมใช้ในการเย็บประกอบ Structure หลักของเสื้อผ้าด้วย ลองนำไปสังเกตเสื้อผ้าของตัวเองดูด้วยได้นะคะ จะมีการเย็บด้วยโพ้งเหมือนกัน


การเย็บโพ้งริมงานนี้ เป็นหน้าที่ของจักรโพ้งโดยเฉพาะ ซึ่งตีนผีต่างๆ ของจักรเย็บนั้นก็ยังไม่สามารถทำเลียนแบบได้เทียบเท่า เต็มที่คือใกล้เคียงประมาณ 60-70% เท่านั้นเอง


และราคาของจักรโพ้งกระเป๋าหิ้วนั้น หลายๆ แบรนด์มักจะเป็นราคา 10,000+ ขึ้นไปเสมอ นั่นเท่ากับว่าหากเราต้องการโพ้งงาน เราก็ต้องควักเพิ่มอีกหมื่นต้นๆ ทีนี้หากบวกรวมจักรเย็บแล้ว ก็เรียกได้ว่าการลงทุนครั้งนี้ แตะๆ 2 หมื่นกันเลยทีเดียว ซึ่งหากใครที่งบประมาณถึง อันนี้สนับสนุนค่ะ เพราะลดทอนเวลาในการเย็บไปเยอะมากพอสมควร



ตัวอย่างราคาจักรโพ้ง บางส่วนที่มีจำหน่ายในประเทศไทย

แต่ถ้าใครงบน้อย แอดมินอยากแนะนำจักรโพ้งกระเป๋าหิ้ว ที่หน้าตาดูละม้ายคล้ายจักรอุตสาหกรรม มาแนะนำให้รู้จักกันอีกรุ่นค่ะ น่าสนใจพอตัวเลยทีเดียว



จักรโพ้งราคาน่ารัก เพียง 6,500 บาท ถ้าช่วงไหนร้านจัดโปรก็ยิ่งถูกลงไปอีก

ผู้เขียนพบจักรโพ้งราคาสุดแสนน่ารัก แถมมาทีนึงตั้ง 5 เส้น ใน Facebook Page ร้านไพวันจักรเย็บผ้า เครื่องตัดผ้า ด้ายเย็บผ้า ยางยืด อะไหล่จักร ปลีก-ส่ง รวมถึงได้เข้าไปดูรีวิวจากทางร้านมาด้วย ทำให้รู้สึกประทับใจในการให้ข้อมูลลูกค้า จึงนำมาเขียนแนะนำให้กับผู้อ่านอีกทีหนึ่ง




สำหรับบทความนี้ นอกจากเราอยากค่อยๆ แนะนำให้ผู้อ่านได้ทำความรู้จักตะเข็บพื้นฐาน ที่เป็นที่นิยมใช้ในการทำเสื้อผ้าแล้ว เราอยากนำเสนอในมุมมองของการลงทุนด้วยค่ะ เพราะหลายๆ คนตั้งใจฝึกเย็บผ้า หรืออยากทำแบรนด์เสื้อผ้าสัตว์เลี้ยงขาย โดยที่เริ่มต้นเล็กๆ น้อยๆ จากการเย็บด้วยตัวเองก่อน


การลงทุนซื้อเครื่องจักรนั้นเป็นการลงทุนเครื่องมือในระยะค่อนข้างยาว หลายๆ คนงบไม่ได้สูงขนาดจะลงทุนครั้งละ 2-3 หมื่นบาท จึงทำให้ผู้เขียนอยากเขียนแนะนำข้อมูลการลงทุนซื้อจักรในอีก 1 มุมมอง ซึ่งบทความนี้เน้นไปที่การลงทุนตัวจักร และงบประมาณสำหรับคนงบน้อย แต่อยากมีจักรเย็บผ้าครบทั้ง 2 ฟังก์ชั่น


 

บทความตอนถัดไป เราจะพาไปรู้จักวิธีเซฟงบประมาณในการตัดเย็บเสื้อผ้าสัตว์เลี้ยงขาย ด้วยการใช้จักรเย็บผ้าไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว ไม่มีจักรโพ้งผสมเลย มาแนะนำสำหับคนที่งบลงทุนไม่มากกันค่ะ และใน EP. ถัดๆ ไปของ #SeamStructure จะเริ่มพาลงลึกถึงข้อมูลความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับการเย็บเสื้อผ้าเพิ่มขึ้นอีกด้วย ฝากติดตามด้วยนะคะ

 
***หมายเหตุ บทความนี้เขียนขึ้นจากมุมมอง ความคิดเห็น และการรวบรวมข้อมูลโดยตัวผู้เขียนเอง มิได้มีการ Sponcor แอบแฝงแต่อย่างใด

แหล่งอ้างอิงรูปภาพ และราคาจักร

ดู 1,337 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


  • Facebook
  • Instagram
  • YouTube
  • Pinterest
bottom of page